วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเภทของสื่อการเรียนรู้ (สื่อเทคโนโลยี)

WBI (Web based Instruction)
WBI แบบไหนถึงเรียกว่า WBI
ก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า WBI คืออะไร
WBI ย่อมาจาก Web based instruction
WBI ไม่ใช่ CAI
WBI เป็นเครื่องมือสำหรับ การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ E-Learning

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ E Education และเป็นส่วนย่อยของระบบใหญ่ E Commerceดังภาพ
แสดงระบบ E-Commerce => E education => E-Learning

WBI เป็น การจัดการศึกษาในรูปแบบ Web Knowladge Based On Line เป็นการจัดสภาวกาณ์การเรียนการสอน ในรูปแบบ On Lineโดยมีข้อกำหนด

อย่างไรจึงจะเรียกว่า WBI

การจะเป็น WBI จะต้องมีสิ่งต่อไปนี้อย่างสมบรูณ์ ได้แก่

  1. ความเป็นระบบ
  2. ความเป็นเงื่อนไข
  3. การสื่อสารหรือกิจกรรม
  4. Learning Root

____________________________________________________________________________

ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) หมายถึง ข้อความ หรือกลุ่มของข้อความที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน โดยการนำเสนอแบบปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ด้วยการนำข้อความที่ใช้มาเป็นจุดเชื่อมโยง ซึ่งจะปรากฏในลักษณะที่เด่นกว่าข้อความอื่น เช่น เป็นคำที่ขีดเส้นใต้ หรือคำที่เป็นตัวหนา เป็นต้น ในยุคแรกที่มีการนำไฮเปอร์ลิ้งค์เข้ามาใช้ในคอมพิวเตอร์ ที่เห็นได้เด่นชัด ได้แก่ ข้อความในระบบช่วยเหลือของโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งรูปแบบของระบบช่วยเหลือจะเริ่มด้วยการแสดงหัวข้อของการช่วยเหลือทั้งหมด เพื่อให้ผู้ใช้เป็นผู้เลือกว่าต้องการความช่วยเหลืออย่างไรโดยใช้เมาส์คลิกที่หัวข้อนั้นๆ แล้วจะมีช่องข้อความและภาพที่เกี่ยวข้องกับคำนั้นปรากฏขึ้นมาให้อ่าน จากหัวข้อที่ถูกเลือกจะถูกเชื่อมโยงไปยังรายละเอียดภายในที่ได้ตระเตรียมไว้แล้ว และแสดงผลออกมาทางหน้าจอในรูปของข้อความซึ่งภายในข้อความเหล่านี้อาจจะมีบางข้อความที่สำคัญได้ถูกเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาอื่นอีก รูปแบบของข้อความหลายมิติจึงไม่ใช่เป็นการเสนอเนื้อหาแบบเส้นตรงที่ผู้อ่านจะต้องอ่านตั้งแต่ต้นไปจนจบ แต่สามารถอ่านแทรกข้อความที่เป็นคำสำคัญที่ตนสนใจได้เป็นระยะ ๆ ตามความต้องการ การนำเสนอเนื้อหาทั้งหมดนี้เป็นไปในรูปแบบของตัวอักษรทั้งสิ้น จึงเรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext)”

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
   
รูปที่ 1 โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้วิชาเคมี
ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ คือ เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่มการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่างๆ โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่เข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ตัวอย่างโครงงาน เช่น การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์ ระบบสุริยจักรวาล  ตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการชำกิ่งกุหลาบ หลักภาษาไทย  และสถานที่สำคัญของประเทศไทย เป็นต้น

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต


คือ การเชื่อมโยงโดยตรงด้วยเกตเวย์เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เข้ากับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต โดยผ่านเกตเวย์ (Gateway) หรือ IP Router   สายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก การเชื่อมโยงต่อผ่านInternet Service Providers(ISP)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ เข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการเชื่อมโยง การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นสำคัญ เช่นใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่  ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้มี5 ลักษณะ คือ

1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up
          เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต


2.การเชื่อมต่อแบบ ISDN(Internet Services Digital Network)
        เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ

3.การเชื่อมต่อแบบ DSL(Digital Subscriber Line)
         เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน

4.การเชื่อมต่อแบบ Cable
         เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม

5.การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites)
         เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม

ที่มา - http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=5bf204ac20583837

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่

Mobile Payment
การใช้สมาร์ทโฟนเพื่อชำระเงินบริการและเซอร์วิสต่างๆ แทนการใช้กระเป๋าสตางค์เริ่มมีแนวโน้มเติบโตขึ้นทั้งจากประเทศชั้นนำและในประเทศที่กำลังพัฒนา ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนสำหรับบ้านเราคือเริ่มมีการใช้สมาร์ทโฟน (บางรุ่น) แทนบัตรโดยสารรถไฟฟ้า BTS แล้ว





วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำศัพท์คอมพิวเตอร์

1. Wireless Card = การ์ดเครือข่ายไรสาย
2. Software = ชุดคำสั่งหรือโปรแกรม
3. Hardware = อุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก
4. Input unit = หน่วยรับเข้า
5. Output unit = หน่วยส่งออก
6. Main Memory unit = หน่วยความจำหลัก
7. Secondary memory unit = หน่วยความจำรอง
8. Keyboard = แป้นพิมพ์
9. Task bar = แถบงาน
10. Ram = เก็บข้อมูลและโปรแกรม
11. Online = การติดต่อ
12. Upload = การโหลดข้อมูล
13. Network = เครือข่าย
14. Fax modem = โมเด็มที่ส่งแฟกซ์ได้
15. Web Site = หน้าต่างของเนต
16. Antivirus Program = โปรแกรมป้องกันไวรัส
17. Computer System = ระบบคอมพิวเตอร์
18. Information System = ระบบขอมูล
19. Computer Network = ระบบเครือข่าย
20. User = ผู้ใช้
21. Account = บัญชีผู้ใช้
22. USB = หน่วยเก็บข้อมูล
23. .net = แสดงเว็บของบริษัท
24. Keyword = รหัสของบางโปรแกรม
25. Multimedia = สื่อประสม
26. Bus = การเชื่อมต่อเครือข่าย
27. Browser = เป็นชื่อใช้เรียกซอฟต์แวร์
28. Bug = ความผิดพลาดของคอม
29. Database = ฐานข้อมูล
30. CD-ROM = ตัวจัดการกับแผ่นต่างๆ
31. Compact Disc = อุปกรณ์ประเภทแผ่น
32. Medium Data = สื่อกลางนำข้อมูล
33. Light pen = ปากกาแสง
34. Track ball = ลูกกลมควบคุม
35. Joystick = ก้านควบคุม
36. Scanner = เครื่องกราดตรวจ
37. Touch screen = จอสัมผัส
38. Control Unit = หน่วยควบคุม
39. Rom = หน่วยความจำแบบอ่าน
40. Diskette = แผ่นบันทึก
41. Harddisk = ฮาร์ดดิสก์
42. Magnetic Tape = เทปแม่เหล็ก
43. Monitor = จอภาพ
44. Printer = เครื่องพิมพ์
45. Laser printer = เครื่องพิมพ์เลเซอร์
46. Line printer = เครื่องพิมพ์รายบรรทัด
47. Speaker = ลำโพง
48. Minimize = ย่อขนาดเล็กสุด
49. Maximize = ขยายใหญ่สุด
50. Scheme = แผนผัง

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การใช้ Application การศึกษา

Thai Fast Dictionary (App พจนานุกรม ไทย อังกฤษ)

Thai Fast Dictionary (App พจนานุกรม ไทย อังกฤษ)



คำอธิบาย
โปรแกรมพจนานุกรม ไทย อังกฤษ ยอดนิยมจาก iOS พร้อมแล้วสำหรับระบบปฏิบัติการ Android
- เปิดโปรแกรมพร้อมใช้งานรวดเร็ว
- ค้นหาคำศัพท์รวดเร็ว
- บันทึกประวัติ และคำที่ชื่นชอบ
- สามารถเลื่อนดูศัพท์ได้ตั้งแต่คำแรกจนถึงคำสุดท้าย
- ออกเสียงสำหรับคำศัพท์ภาษาอังกฤษและคำศัพท์ภาษาไทย
- ฝึกฝนคำศัพท์ใหม่ๆกับเกม Hangpig
ผลิตภัณฑ์นี้สร้างสรรค์ขึ้นโดยดัดแปลงมาจากพจนานุกรมเล็กซิตรอนซึ่งพัฒนาโดย
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

Credit : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.siamnorthsolution.thaifastdictionary&hl=th

อันตรายจากการใช้อินเตอร์เน็ต

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อุปกรณ์พื้นฐานคอมพิวเตอร์


เมาส์ (Mouse)

     อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)" ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Mouse



คีย์บอร์ด (Keyboard)
     เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลที่สำคัญที่สุด มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ ของเครื่องพิมพ์ดีด มีจำนวนแป้น 84 - 105 แป้น ขึ้นอยู่กับแป้นที่เป็น กลุ่มตัวเลข (Numeric keypad) กลุ่มฟังก์ชัน (Function keys) กลุ่มแป้นพิเศษ (Special-purpose keys) กลุ่มแป้นตัวอักษร (Typewriter keys) หรือกลุ่มแป้นควบคุมอื่น ๆ (Control keys) ซึ่งการสั่งงานคอมพิวเตอร์และการทำงานหลายๆ อย่างจำเป็นต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Keyboard


 เมนบอร์ด (Main board)
     แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Mainboard




Credit : http://computer.kapook.com/equpiment.php

ประเภทของระบบสาระสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

1. จงบอกความหมายของประเภทของระบบสาระสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทั้ง 2 ประเภท

EIS (Executive Information System: EIS)

ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System: EIS) 
     ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ ใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง

คุณสมบัติของระบบ EIS
     - มีการใช้งานบ่อย
     - ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
     - ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
     - การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
     - การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน
     - ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
     - การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
     - ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด

ประโยชน์ของของระบบ EIS
     1. ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการใช้งาน
     2. การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
     3. ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ
     4. ทำให้สามารถเข้าในสารสนเทศได้ดีขึ้น
     5. มีการกรองข้อมูลให้ประหยัดเวลา
     6. ทำให้ระบบสามารติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น

GDSS (Group Decision Support Systems)

ลักษณะของระบบสนันสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
1. เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งไม่ใช่การนำองค์ประกอบต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว มาประยุกต์ใช้แต่จะต้องสร้างขึ้นมาใหม่จึงจะเรียกว่าเป็นระบบ GDSS
2. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม ถูกออกแบบมาโดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจขององค์ประชุม
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจถูกออกแบบมาเพียงเพื่อต้องการแก้ปัญาหาเฉพาะหน้า หรือแก้ไขปัญหาทั่วไปก็ได้
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะต้องง่ายต่อการเรียนรู้ และใช้งานได้สะดวก อีกทั้งยังอาจให้ความหลากหลายกับผู้ใช้ในแต่ละระดับที่เกี่ยวข้องกับความรู้ การประมวลผล และการสนับสนุนการตัดสินใจ
5. มีกลไกที่ให้ผลในเรื่องการปรับปรุงจุดบกพร่องที่เกิดจกพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมประชุม เช่นการขจัดความขัดแย้งในที่ประชุม
6. ระบบจะต้องออกแบบให้มีความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมต่างๆ เช่น กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

ประโยชน์ของ GDSS
1. ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
2. มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
3. สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
5. มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
6. ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
7. มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด


2.ความแตกต่างระหว่าง EIS กับ GDSS

ความแตกต่าง

DSS = เน้นการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structured decision making) มีการใช้ข้อมูลข่าวสารจากระบบ MIS และข้อมูลจากภายนอกบางส่วนมาช่วยในการปรับปรุง หรือ กำหนดแผนงานที่จะต้องสนองเป้าหมายหลักขององค์กรให้มากที่สุด เช่น ระบบ Data miming เป็นต้น

EIS = เน้นการตัดสินใจแบบไร้โครงสร้าง (Unstructured decision making) จุดมุ่งหมายของระบบ EIS คือ ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นแนวทาง ความเป็นไปที่เป็นมา และกำลังจะมีแนวโน้มไปทางใด เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบาย เป้าหมาย หลักๆ ขององค์กรให้สามารถธำรงองค์กรไว้ได้ แข่งขันกับคู่แข่งขันได้อย่างดี ตัวอย่างเช่นระบบ วางแผนกลยุทธ์ Strategic planning เป็นต้น จะเป็นมาตรการสิ่งที่ได้จากการตัดสินใจของผู้บริหารชั้นสูงที่ใช้สั่งการไปสู่ผู้บริหารระดับกลาง เพื่อปรับแผนงานและกระทบถึงผู้บริหารระดับต้น เพื่อปฏิบัติตามแผนงาน ใหม่ต่อไป

วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างการใช้งาน DSS


การใช้ DSS ในสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ (DSS at American Airline)
                American Analytical Information Management System (AAIMS) เป็นตัวอย่างดั้งเดิมสำหรับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ซึ่งใช้กับการผลิตเครื่องบิน การวิเคราะห์ทางการเงิน การให้คำปรึกษาและการทำงานร่วมกัน ซึ่ง AAIMS มีการสนับสนุนการตัดสินใจของสายการบินโดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บจากสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการผลิตเครื่องบิน การจัดที่นั่งให้เหมาะสมถูกต้อง และสถิติทางการบิน เช่น การคาดการณ์สำหรับสายการบินในส่วนแบ่งการตลาด รายได้และผลกำไร การแบ่งประเภทของตั๋วเครื่องบิน ราคา และอื่นๆ


วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ใบงานที่ 1



1.ยกตัวอย่างกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศที่นักเรียนเคยปฏิบัติในชีวิตประจำวัน




การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต




 บริษัทและหน่วยงานทางธุรกิจจำนวนมากใช้ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การส่งใบสั่งซื้อสินค้าในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การตรวจสอบรายการสินค้าตามห้างร้านค้าปลีกแบบออนไลน์ การโต้ตอบธุรกรรมต่างๆ ทำให้ลดการใช้กระดาษและทำให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการ


2. ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของระบบสารสนเทศ แล้วสรุปข้อมูลตามหัวข้อต่อไปนี้

-ชื่อ

-ลักษณะ

-การใช้ระบบสารสนเทศแต่ละประเภท

-แหล่งค้นข้อมูล (เว็บไซต์อ้างอิง)

ชื่อระบบ ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (Transaction Processing Systems -TPS)
ลักษณะ 1)การประมวลผลข้อมูลจำนวนมา
                  2)แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายในและผลที่ได้เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้ภายในองค์การเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหุ้นส่วนทางการค้าอาจจะมีส่วนในการป้อนข้อมูลและอนุญาตให้หน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนใช้ผลที่ได้จาก TPS โดยตรง

การใช้งาน
1)การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
2) การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง ปีที่ผ่านมา
3) การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น
4) การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน
5) การเก็บ (Storage) การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPSก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหารด้วย ดังจะกล่าวต่อไป
แหล่งข้อมูล http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson8-1.asp#CSP

ชื่อระบบ ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management Reporting Systems MRS)
ลักษณะ 

1)ช่วยในการจัดทำรายงานซึ่งมีรูปแบบที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานตายตัว
2) ใช้ข้อมูลภายในที่เก็บไว้ในฐานข้อมูล
3) ช่วยในการวางแผนงานประจำ และควบคุมการทำงาน
การใช้งาน 
1ช่วยในการตัดสินใจงานประจำของผู้บริหารระดับกลาง
2) ช่วยในการทำรายงาน
3) ช่วยในการตัดสินใจที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ และมีโครงสร้างแน่นอน เช่น การอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้า
แหล่งข้อมูล http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson8-1.asp#CSP

วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Decision Support System


 Decision Support System (DSS) is a computer-based information system that supports business or organizational decision-making activities. DSSs serve the management, operations, and planning levels of an organization (usually mid and higher management) and help to make decisions, which may be rapidly changing and not easily specified in advance (Unstructured and Semi-Structured decision problems). Decision support systems can be either fully computerized, human or a combination of both.
While academics have perceived DSS as a tool to support decision making process, DSS users see DSS as a tool to facilitate organizational processes.[1] Some authors have extended the definition of DSS to include any system that might support decision making.[2] Sprague (1980) defines DSS by its characteristics:
  1. DSS tends to be aimed at the less well structured, underspecified problem that upper levelmanagers typically face;
  2. DSS attempts to combine the use of models or analytic techniques with traditional data access and retrieval functions;
  3. DSS specifically focuses on features which make them easy to use by noncomputer people in an interactive mode; and
  4. DSS emphasizes flexibility and adaptability to accommodate changes in the environment and the decision making approach of the user.
DSSs include knowledge-based systems. A properly designed DSS is an interactive software-based system intended to help decision makers compile useful information from a combination of raw data, documents, and personal knowledge, or business models to identify and solve problems and make decisions.
Typical information that a decision support application might gather and present includes:
  • inventories of information assets (including legacy and relational data sources, cubes, data warehouses, and data marts),
  • comparative sales figures between one period and the next,
  • projected revenue figures based on product sales assumptions.

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ


ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
    ในความเป็นจริงแล้วรายงานชนิดต่างๆ ยังไม่สามารถตอบคำถามที่เกิดขึ้นในขบวนการตัดสินใจได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากรายงานเหล่านั้นยังไม่สามาถนำมาใช้ได้ทันต่อเหตุการณ์และยังไม่สามารถนำมาทดสอบเพื่อดูผลของการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้จัดการสามารถหาคำตอบของคำถามต่างๆ เพื่อทำการตัดสินใจด้วยการใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์หรือแผนภาพได้ดีขึ้น ความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจคือ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยผู้ตัดสินใจที่ต้องเผชิญกับปัญหาที่มีโครงสร้างระดับต่างๆ โดยสามารถทดสอบผลการตัดสินใจในการแก้ปัญหาด้วยตัวแบบข้อมูลและทำการวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจช่วยในการตัดสินใจปัญหาได้หลากหลายรูปแบบ สามารถช่วยในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เช่น ผู้ผลิตต้องการหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่หรือโรงงานน้ำมันต้องการเลือกสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดในการขุดเจาะหาน้ำมัน ซึ่งจะเห็นว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทั่วไปไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ แต่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสามารถช่วยแนะนำทางเลือกในการปฏิบัติและช่วยในการตัดสินใจเพื่อหาคำตอบของปัญหาเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจยังเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจการบริหารรูปแบบต่างๆ ดังนั้นจึง จำเป็นต้องสามารถรองรับรูปแบบการตัดสินใจของผู้ใช้ที่หลากหลายด้วย

กลุ่มของตัวแบบที่ใช้สนับสนุน ผู้ตัดสินใจหรือผู้ใช้ (Model base), กลุ่มของค่าความจริงและสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ (Database), และระบบและขบวนการที่ช่วยให้ผู้ตัดสินใจและผู้ใช้อื่นๆ สามารถตอบโต้กับระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้ (User Interface) จากรูปจะเห็นว่าผู้ใช้ไม่ได้ทำการใช้ตัวแบบโดยตรง แต่จะใช้งานผ่านซอฟต์แวร์จัดการตัวแบบ (Model Management Software : MSS) และใช้ฐานข้อมูลผ่านระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Mangement System :DBMS)


credit :http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis4.htm